วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิดิโอ


ภาคตะวันออก




อุทยานแห่งชาติปางสีดา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้วได้ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมือวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 844 ตารางกิโลเมตร หรือ 527,500 ไร่
ใน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวัฒนานครจังหวัดสระแก้ว และอำเภอนาดี ซึ่งอยู่จังหวัดปราจีนบุรี
สภาพภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติปางสีดาส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติฯ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีทั้ง ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้า ยังคงความสมบูรณ์
ของพืชพันธ์ไม้นานาชนิด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธารน้ำมากมาย อาทิ ห้วยโสมง ห้วยน้ำเย็น ห้วยพระปรง ห้วยพลับพลึง ฯลฯ ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำบางปะกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี และมีสัตว์ป่าตั้งแต่ขนาดใหญ่ถึงขนาดเล็ก รวมถึงนกไม่ต่ำกว่า 300 ชนิด และสัตว์ป่าที่พบ เช่น กระทิง ช้าง วัวแดง เสือโคร่ง กวาง เก้ง หมี หมูป่า และยังเป็นแหล่งจระเข้น้ำจืด ที่หลงเหลืออยู่แห่งเดียวในประเทศ ภายในอุทยานแห่งชาติปางสีดา การเดินทางไปอุทยานฯจากตัวจังหวัดใช้เส้นทางหมายเลข 3462 ไปทางทิศเหนือ ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร หรือใช้บริการรถโดยสาร สาย สระแก้ว - บ้านคลองน้ำเขียว ภายในอุทยานฯ ยังมี่แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
น้ำตกปางสีดา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 700 เมตร เป็นน้ำตกที่ไม่สูงมากนักเบื่องล่างเป็นแอ่งน้ำกว้างใหญ่ บรรยากาศร่มรื่นและจะมีน้ำตกมากในช่วงฤดูฝนน้ำตกผาตะเคียน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 3 กิโลเมตร โดยการเดินเท้าตลอดเส้นทางขึ้นสู่น้ำตกร่มรื่นด้วยแมกไม้หนาทึบ เป็นน้ำตกชั้นสุดท้านอยู่ในสายเดียวกับน้ำตกปางสีดาตกลงมาจากหน้าผาประมาณ 10 เมตรในหน้าน้ำ สายน้ำจะมีความรุนแรงดังก้องละอองน้ำฟุ้งกระจายทั่วบริเวณ
อุทยานแห่งชาติปางสีดา มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอตาพระยา อำเภอวัฒนานคร อำเภอเมืองจังหวัดสระแก้ว และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า มีสภาพธรรมชาติและเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกปางสีดา น้ำตกผาตะเคียน น้ำตกแควมะค่า จุดชมวิว โขดหินตามลำน้ำที่มีลักษณะแปลกๆ มีเนื้อที่ประมาณ 527,500 ไร่ หรือ 844 ตารางกิโลเมตร

เดิมบริเวณน้ำตกปางสีดา เป็นหน่วยงานหนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการที่จะจัดป่าในบริเวณให้เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวทั่วไป อีกทั้งยังเป็นการรักษาป่าต้นน้ำลำธารและสภาพป่าโดยรอบ กรมป่าไม้จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกดำเนินการสำรวจและจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ชื่อว่า “วนอุทยานปางสีดา” เมื่อปี พ.ศ. 2521 อยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้จังหวัดปราจีนบุรี มีนายเดชา พงษ์พานิช นักวิชาการป่าไม้ 3 ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยาน

ต่อมาได้มีการสำรวจพื้นที่โดยรอบที่มีเขตติดต่อกันปรากฏว่า บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า และทิวทัศน์ที่สวยงาม สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเชาสูงชันสลับซับซ้อน มีน้ำตกหลายแห่ง เช่น น้ำตกปางสีดา น้ำตกนาโตร น้ำตกผาน้อย และยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางประกง ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรรมในภาคตะวันออก สมควรดำเนินการให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือวนอุทยานปางสีดา ที่ กส 07008(ปด)/22 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2523 เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติดั้งเดิมไว้ เพื่อประโยชน์ในการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อการศึกษาค้นคว้าของประชาชนส่วนรวม ทั้งเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้พิจารณาจัดตั้งอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าให้เป็นการเพียงพอ ต่อมาจึงได้โอนความรับผิดชอบมาให้กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้นำรายงานการสำรวจเบื้องต้นและข้อคิดเห็น เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุม ครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ ป่าเขาสะโตน และป่าท่ากระบาก ในท้องที่ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี ตำบลบ้านแก่ง ตำบลโคกปี่ฆ้อง ตำบลท่าแยก อำเภอสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว และตำบลหนองน้ำใส ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 24 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 41 ของประเทศไทย
 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติปางสีดา เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งทอดยาวมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลานไปยังอุทยานแห่งชาติตาพระยาจรดประเทศกัมพูชา โดยมีความลาดชันจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50 - 878 เมตร มียอดเขาใหญ่เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยลำธารหลายสาย เช่น ห้วยชมพู ห้วยสวนน้ำหอม ห้วยสาริกา ห้วยวังมืด และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกง
 ลักษณะภูมิอากาศ
มีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบฝนเมืองร้อน อากาศแห้งแล้งและชุ่มชื้นสลับกัน ในฤดูมรสุมจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่าน ทำให้ลักษณะอากาศเป็นแบบชุ่มชื้น และมีฝนตลอดฤดูกาล แต่ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ หรือฤดูหนาวจะมีอากาศแห้งแล้ง ฤดูร้อน เริ่มต้นแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28 องศาเซลเซียส
 พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติปางสีดา ครอบคลุมไปด้วยพื้นที่ป่าประมาณร้อยละ 95 ประกอบไปด้วย
ป่าดิบชื้น พบทั่วไปในเขตอุทยานแห่งชาติ บริเวณพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 400-1.000 เมตร ไม้ที่พบอยู่ทั่วไป ได้แก่ ยางกล่อง ยางขน ยางเสี้ยน กระบาก ยางปาย เคี่ยมคะนอง ทะโล้ จำปีป่า พะอง ก่อน้ำ ก่อเดือย ฯลฯ ไม้พุ่มมีหลายชนิด เช่น ส้มกุ้ง ข้าวสารหลวง ชะโอน คานหามเสือ เป็นต้น ส่วนบริเวณฝั่งลำธารจะมีพวก ลำพูป่า กระทุ่ม มหาสะดำ กูดพร้าว ละอองไฟฟ้า พืชอิงอาศัยที่พบโดยทั่วไปได้แก่ กระปอกเล็ก ชายผ้าสีดา กูดอ้อม เอื้องกุหลาบพวง และเอื้องปากเป็ด เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบขึ้นในบริเวณพื้นที่ค่อนข้างราบสูง จากระดับน้ำทะเล 100-400 เมตร ไม้ที่พบขึ้นอยู่ทั่วไป ได้แก่ ยางนา ยางแดง สะเดาปัก ตะเคียนทอง มะค่าโมง ตาเสือ หมากนางลิง ลาน ฯลฯ พืชชั้นล่าง เช่น พืชในสกุลขิงข่า กระเจียว และกล้วยป่า เป็นต้น

ป่าดิบเขา พบในบริเวณที่มีอากาศเย็นบนภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ไม้ที่พบขึ้นอยู่ทั่วไป ได้แก่ พญาไม้ มะขามป้อมดง สนสามพันปี ก่อน้ำ ก่อด่าง กำลังเสือโคร่ง ฯลฯ พืชชั้นล่างเป็นพวกไม้พุ่มชนิดต่างๆ เช่น กาลังกาสาตัวผู้ กล้วยไม้ดิน หญ้าข้าวกล่ำ สามร้อยยอด เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ ชนิดของไม้ที่ขึ้นอยู่ ได้แก่ มะค่าโมง ซ้อ ประดู่ ตะแบกใหญ่ ตีนนก สมอพิเภก กว้าว ฯลฯ พืชชั้นล่าง ได้แก่ ไผ่ป่า และหญ้าต่างๆ และ (5) ป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะขามป้อม รกฟ้า ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าเพ็ก และหญ้าคา

ด้วยสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้และลักษณะภูมิประเทศทำให้บริเวณนี้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายเหมาะสมที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า จึงมีสัตว์ป่าที่มีขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก รวมทั้งนกไม่ต่ำกว่า 200 ชนิด อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไป สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ช้าง กระทิง วัวแดง เสือโคร่ง เก้ง กวางป่า กระจง ชะนีมงกุฎ นากเล็กเล็บสั้น เม่นแผงคอใหญ่ ค้างคาวปีกขน ไก่ฟ้าพญาลอ นกยางเขียว นกพญาปากกว้างอกสีเงิน นกแต้วแล้วธรรมดา นกเด้าดิน ตะกอง กิ้งก่าบิน ตะกวด เขียดตาปาด เขียดทราย อึ่งแม่หนาว เป็นต้น บริเวณลำห้วยลำธารต่างๆ เช่น ห้วยน้ำเย็น ห้วยโสมง ห้วยพลับพลึง พบปลาชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาสร้อยนกเขา ปลาชะโอน ปลาค้อ ปลากดเหลือง ปลาดัก ปลาแค้ขี้หมู ปลาดุก ปลาก้าง และปลากระทิงดำ เป็นต้น                                          


ภาคคะวันตก


หลวงพ่อโต วัดตาลเจ็ดยอด วัดตาลเจ็ดยอดเป็นชื่อที่ตั้งตามหมู่บ้าน ตาลเจ็ดยอด แต่ตัววัดจริงๆ ตั้งอยู่ใน ต.ศาลาลัยเหตุที่ตั้งชื่อน่าจะเป็นเพราะคำว่า ตาลเจ็ดยอด” เป็นชื่อที่มีคนรู้จักซึ่งเดิมทีมีต้นตาล ยอดจริงๆ แต่ถูกตัดไประหว่างที่สร้างรถไฟสายใต้ ก่อนปี 2500 ด้วยเหตุที่ว่าตาลต้นดังกล่าวขวางทางรถไฟผู้สร้างทางรถไฟไม่ได้ตัดทิ้งเสียเลยทีเดียว แต่ทำให้ต้นตาลตายโดยวิธีธรรมชาติจากนั้นจึงตัดทิ้ง
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่วัดตาลเจ็ดยอดก็คือรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดหน้าตักกว้างถึง 11 เมตร สูง 18 เมตรซึ่งถือว่าเป็นรูปหล่อองค์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตที่ใหญ่ที่สุดในโลกและด้านหน้าองค์สมเด็จโต มีการเทหล่อรูปเหมือนขนาดบูชาเท่าองค์จริงของครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิ พระอาจารย์มั่น หลวงปู่ทวด หลวงปู่ศุข หลวงปู่สดและพระพุทธรูปอีกหลายองค์นอกจากนี้ได้ทำการปรับปรุงสถานที่ ภูมิทัศน์บริเวณวัดตาลเจ็ดยอดให้ดีขึ้นมีความร่มรื่นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยี่ยมเยือนวัดนับว่าวัดแห่งนี้ก็เป็นวัดที่มีความน่าสนใจอีกวัดหนึ่งมากทีเดียวนอกจากจะได้ไปกราบนมัสการรูปหล่อเหมือนหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ที่สุดในโลกแล้วก็ยังจะได้ไปพักผ่อนหย่อนใจเป็นของแถมด้วย      อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันเป็นที่นิยม ด้วยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด บ้านกรูด วัดห้วยมงคลซึ่งมีนักท่องเที่ยวแวะนมัสการหลวงปู่ทวดเพื่อขอพรอันเป็นมงคลจำนวนมาก ในขณะที่ถ้าเลยไปยัง อ.สามร้อยยอด จะพบกับวัดอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ และน่าเดินทางเข้าไปเที่ยวชม คือ วัดตาลเจ็ดยอด ซึ่งภายในวัดมีสิ่งที่น่าชมมากมาย อาทิ องค์หลวงพ่อโตขนาดใหญ่ให้กราบไหว้ขอพร มีบ่อน้ำมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งจำลองของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีให้สักการะ
       
       วัดตาลเจ็ดยอด แห่งนี้ไปทางอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีป้ายบอกทางเข้าตลอดทาง ตัววัดตั้งอยู่ท่ามกลางท้องนา เมื่อเข้าไปในซอยจะเห็นองค์หลวงพ่อโต (สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี) องค์ขนาดใหญ่ เป็นองค์รูปเหมือน ขนาดหน้าตักกว้าง 11 เมตร สูง 18 เมตร น้ำหนักรวม 50,000 กิโลกรัม หล่อจากโลหะทองเหลืองเป็นชิ้นใหญ่ 16 ชิ้น ตั้งอยู่โดดเด่นเป็นสง่า เบื้องหน้าเป็นยอดเขาสามร้อยยอดซึ่งเป็นทิวทัศน์ที่มีความงดงามมาก
       
       นอกจากองค์หลวงพ่อโตขนาดใหญ่แล้ว ภายในวัดยังมีบ่อน้ำมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ จำลองสถานที่คล้ายกับบ่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ วัดอินทรวิหาร มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งจำลองของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักท่องเที่ยว หรือผู้ที่เข้าเยี่ยมชมได้สวดมนต์เจริญภาวนา ภายในบริเวณบ่อน้ำมนต์มีรูปองค์พระพุทธเจ้า 28 พระองค์โดยรอบ

ภาคอิสาน





อีสานคลาสสิก และ 8 สุดยอดแห่งที่ราบสูงอีสาน (อ.ส.ท.)
โดย อภินันท์ บัวหภักดี 

          อีสานวันนี้ แม้หลายสิ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลก แต่อีกสานก็ไม่เคยฮ่างอีสานที่เหมือนจะเซาซึม วันนี้กลับกลายเป็นแผ่นดินที่ควรค่าแก่ความภาคภูมิใจ ยิ่งในยุคที่โลกร้อนและอาหารแพง อีสารกลับเป็นดินแดนแห่งข้าวหอมมะลิ และกำลังจะชุ่มน้ำด้วยอภิมหาโครงการใหญ่ยักษ์หลายโครงการ แต่เหนืออื่นใด อีสานนี้แหละที่จะเป็นดินแดนหน้าบ้านของประเทศไทยในการออกไปรับหน้ากับการเติบโตของอุษาคเนย์ ที่กำลังพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรีบรุด

          วันนี้คนอีสานนับแสนภาคภูมิใจกับความเป็นแผ่นดินผืนที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศ การมีประชากรมากที่สุดของประเทศ มีผู้แทนราษฎรจำนวนมากที่สุด และมีเมืองใหญ่ๆ ที่ใหญ่โตจริงๆ ทัดเทียมกันมากมายหลายเมืองด้วยกันผู้คนอีสานวันนี้ทำมาหากินขยันขันแข็ง กำลังงานวันก่อนที่ค่อยเริ่มสร้างบ้านแปลงเมืองเคยออกไปไขว่คว้าหาประสบการณ์ต่างบ้าน ไม่เพียงไปในเมือง ในจังหวัดกรุงเทพฯ หรือประเทศไทย แต่บุกบั่นไกลไปทั่วโลก มาถึงวันนี้ได้นำเข้าอารยธรรมความเจริญ เงินตราความรู้ความคิดใหม่ๆ กลับมาพัฒนามาตุภูมิอย่างมีคุณค่าอเนกอนันต์

1. สุดยอดขุนเขาแห่งการท่องเที่ยว...ภูกระดึง

          เมื่อเอ่ยถึงภูเขา สิ่งที่ไปกันได้ดีก็คือเรื่องของการท่องเที่ยว เพราะบนภูเขามีสิ่งดึงดูดความสนใจให้ขึ้นไปเที่ยวชมมากมาย อย่างพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก ป่าใหญ่ๆ ดอกไม้ป่างามๆ น้ำตกบึ้มๆ หน้าผาและจุดชมวิวสวยๆ ไม่เพียงเท่านั้นอุณหภูมิบนภูเขาทั้งกลางวันกลางคืนก็หนาวเย็น สร้างบรรยากาศโรแมนติก ชวนให้เบียดกายใกล้ชิดสนิดแนบ เหมาะแก่การพาคู่รักหรือเพื่อนร่วมใจไปสนุกสนานเปลี่ยนบรรยากาศ ภูเขาจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตติดอันดับของผู้คนทั่วโลก

          แนวทิวเขาของอีสานประกอบไปด้วยแนวทิวขาเพชรบูรณ์และแนวทิวเขาดงพญาเย็น ที่เป็นเสมือนสันกั้นพรมแดนระหว่างภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน จากที่ราบลุ่มภาคกลางจะขึ้นสู่ที่ราบสูงอีสานก็ต้องทะลุแนวภูเขานี้ขึ้นไปทั้งสิ้น ต่ำลงมาประชิดกับภาคตะวันออกชายฝั่งทะเล คือเทือกเขาสันกำแพง ที่ด้านหนึ่งเป็นจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว กับอีกด้านหนึ่งก็คือพื้นที่อำเภอโนนสูง เสิงสาง และครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ทิวเขานี้ยังเชื่อมโยงต่อไปถึงพนมดงรัก ซึ่งเป็นแนวกั้นอีสานกับดินแดนกัมพูชาและ สปป. ลาว และทั้งหมดนี้ก็คือ แนวภูเขาที่กั้นอีสานออกเป็นเอกเทศ แทบจะเป็นที่ราบกลมๆ บนที่สูง จากอีสานจะลงมาภาคกลางหรือไปภาคเหนือ อย่างไรเสียก็ต้องเจอภูเขา จะไปตามทางราบๆ ตลอดไม่ได้

          นอกจากนี้ อีสานยังมีแนวเทือกเขาภูพานที่เป็นเส้นตัดขวางแบ่งกั้นให้เกิดเป็นอีสานเหนือ คือจังหวัดอุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม และเลย และอีสานใต้ที่มีอยู่อีกมากมายหลายจังหวัด ทั้งหมดเสมือนถูกตัดแยกออกจากกันอย่างเด่าชัดด้วยเทือกเขาภูพานแห่งนี้

          และในบรรดาเทือกภูเขาสูงอีสานหลากหลายนี้ เทือกเขาเพชรบูรณ์ดูจะเป็นเทือกเขาที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุด ก่อให้เกิดภูเขาย่อยๆ ที่มีพื้นที่กว้างขวาง มีความหลากหลายของสรรพชีวิตสวยงามมากมายหลายแห่ง และหากจะกล่าวกันถึงเรื่องท่องเที่ยวแล้ว ก็เชื่อแน่ว่าไม่มีใครปฏิเสธ หากจะยกตำแหน่งสุดยอดภูเขาท่องเที่ยวให้กับภูกระดึง แห่งเทือกเขาเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย

          ภูกระดึง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเก่าแก่ที่ไม่เคยเสื่อมคลายมนตร์ขลัง เพราะที่นี่มีทุกๆ อย่างที่นักท่องเที่ยวต้องการ จุดเด่นของภูกระดึงคือความสวยงามของภูเขา สายหมอกหน้าผา พรรณไม้ และสัตว์ป่า กล่าวกันว่า ถ้านักท่องเที่ยวจะเริ่มต้นออกเดินทางท่องธรรมชาติ ภูกระดึงจะเป็นเสมือนโรงเรียนประถมต้นของการท่องเที่ยวภูเขากันเลยที่เดียว 2. สุดยอดภูผาและผืนป่าอนุรักษ์

          นอกจากภูเขาจะเป็นแหล่งรวมความงดงามน่าท่องเที่ยวแล้ว ยังมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารอีกด้วย กระบวนการจะเริ่มตั้งแต่น้ำฝนที่ประพรมผืนป่าบนภูเขา ต้นไม้มีหน้าที่เก็บกักน้ำนั้นไว้ แล้วค่อยปล่อยลงสู่ลำน้ำเล็กๆ  ที่ไหลลงมาตามความลาดชันของภูเขา รวมกันเป็นลำน้ำสายใหญ่ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กระทั้งไหลลงสู่ที่ราบสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้คนเบื้องล่าง นอกจากบทบาทนี้แล้ว ป่าบนภูเขายังเป็นแหล่งรวมของนานาสรรพชีวิตหลากหลาย ทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงนกหายากอีกหลากหลายประเภท ภูเขาจึงเป็นแหล่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ต้นน้ำลำธานคงความอุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้น สัตว์ป่า นก และพืชหายากนานาพรรณมีโอกาสดำรงพันธุ์ของตนสืบไป3. สุดยอดสายน้ำฉ่ำเย็น แม่น้ำโขง ชี มูน

          แม่น้ำโขง  คือสุดยอดแม่น้ำของอีสาน ข้อนี้คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในภาคเหนือที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นระยะทางสั้นๆ ก่อนจะออกจากประเทสไทยที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเดียวกัน จากนั้นแม่น้ำโขงจึงไหลกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งในแผ่นดินอีสาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จากเชียงคาน แม่น้ำโขงก่อให้เกิดหาดทราบ โขดหิน และเกาะแก่งที่สวยงามมากมายหลากหลาย โดยเฉพาะที่อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย มีที่พักและรีสอร์ตมากหลายได้รับการจัดสร้างขึ้นไว้รองรับนักท่องเที่ยวผู้มาชมความสวยงามของแม่น้ำโขงที่นี่

          สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 เป็นสะพานนานาชาติแห่งแรกที่พาดข้ามไปบนแม่น้ำสายนี้ เชื่อมมิตรภาพสองฝั่งโขง ร้อยใจลาว-ไทยน้องพี่เข้าด้วยกัน จากสะพานมิตรภาพๆ แม่น้ำโขงก็ขยายตัวกว้างใหญ่ ทอดผ่านเมืองสองฟากฝั่งที่ล้วนเป็นเมืองสำคัญของสองประเทส เช่น เมืองบึงกาฬ เมืองบอลิคัน เมืองนครพนม และเมืองท่าแขก จนมาพบกับสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นแม่น้ำโขงก็ไหลต่อลงไปผ่านเมืองเขมราฐ ก่อให้เกิดแก่งหินที่สวยงามขึ้นอีกหลายชุดก่อนจะไปสุดท้ายออกจากประเทสไทยที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

          ระหว่างทางเดินของแม่น้ำโขงได้ก่อให้เกิดสิ่งดีๆ มากหลาย ประชาชนสองฟากฝั่งใช้แม่น้ำโขงเป็นแหล่งอาหาร แหล่งทำมาหากินด้านการเกษตรมากมาย ที่หน้าเมืองนครพนมและเมืองเวียงจันทน์เกิดเป็นหาดทรายกว้างใหญ่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของทั้งสองประเทศ งานเทศกาลประเพณีที่เกี่ยวข้องกัยการท่องเที่ยว เช่น ประเพณีแข่งเรือ ประเพณีไหลเรือไฟ และปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้น ก่อให้เกิดการทางท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง4. สุดยอดความงามทุ่งดอกไม้ป่า

          ในบรรพาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลายประเภทในประเทศไทยนั้น ทุ่งดอกไม้ป่านับเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่เที่ยวได้เที่ยวดี ใครๆ ก็ไปเที่ยวได้ ใครๆ ก็ชอบ แทบไม่มีข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ วัย ความเก่งกล้าสามารถ หรือแม้กระทั่งความรอบรู้ของนักท่องเที่ยว

          ภาคอีสานมีทุ่งดอกไม้ป่าอันงดงามอยู่จำนวนไม่น้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติต่างๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ทุ่งกระเจียว จังหวัดชัยภูมิ ทุ่งดอกไม้ดินที่ป่าสมอปูน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา-ปราจีนบุรี ทุ่งดอกไม้ดินที่ภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหาร กลุ่มดอกไม้ป่าบนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย กลุ่มดอกไม้ป่าบนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดหนองคาย และทุ่งดอกไม้ดินที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบนราชธานี เป็นต้น 

          นอกจากทุ่งดอกไม้ที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีนี้แล้ว ยังมีทุ่งดอกไม้ประเภทขึ้นเองตามหัวไร่ปลายนา และทุ่งดอกไม้ปลูกเพื่อเอาน้ำมันอีกบางชนิด ที่ในฤดูกาลก็สวยงามบานสะพรั่งน่าไปเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่งอีกหลายประเภท เช่น ทุ่งดอกหญาบัว ดอกปอเทือง และทุ่งดอกทานตะวัน แถบรอยต่อจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี เป็นต้น5. สุดยอดอีสานก่อนประวัติศาสตร์

          เหตุการณ์สนุกๆ อย่างเช่น การต่อสู้กันของไดโนเสาร์ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ มีชื่อภาษาอังกฤษเรียกยากๆ นั้น เป็นเหตุการณ์ที่นำมาจำลองและจัดแสดงสาธิต เป็นการให้ความรู้ความบันเทิง และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากมายจนกลายเป็นจุดเด่นหนึ่งของการท่องเที่ยวอีสานไปแล้ว

          ประวัติศาสตร์ของอีสานเริ่มขึ้นตั้งแต่ยุกก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบซากกระดูกของไดโนเสาร์หลากพันธุ์หลายตระกูล ทั้งชนิดเนื้อและกินพืช โดยเฉพาะในเขตภาคอีสานตอนกลาง อันเป็นพื้นที่แถบเทืองเขาภูพาน จังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร ขอนแก่น นอกจากซากไดโนเสาร์ ยังมีการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ภาพเขียนสีที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น6. สุดยอดอลังการแห่งปราสาทหิน

          เขมรกับไทยมีความสัมพันธ์กันมาช้านาน มีเรื่องเล่าว่า ถ้าไม่มีเขมร คนไทยก็จะหายใจไม่ได้และเดินไปไหนไม่ถูก เพราะคำว่าจมูกและคำว่าเดินมาจากภาษาเขมร ดังนั้น การมีปราสาทหินอารยธรรมขอมมากมายในดินแดนไทยจึงนับเป็นเรื่องปรกติ ไม่มีอะไรแปลกประหลาด

          ปราสาทหินนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในอีสาน และมีจำนวนมากมาย ตั้งแต่ใต้สุดของจังหวัดอุบลราชธานี ไปจนถึงเหนือสุดที่พระธาตุนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร ในบรรดาปราสาทหินอารยธรรมขอมจำนวนมากมายเหล่านี้ อาจจำแนกออกได้เป็นสิ่งก่อสร้าง 1 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ ศาสนสถาน ธรรมศาลาหรือบ้านมีไฟที่สร้างไว้เพื่อเป็นที่พำนักของคนเดินทาง และอโรคยศาลาหรือโรงพยาบาล ที่มีแพทย์คือ พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นหมอ

          ปราสาทหินอันเป็นที่รู้จักในภาคอีสานและเป็นสุดยอดในด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทหินทรายสีชมพูบนปากปล่องภูเขาไฟแห่งเมืองบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทที่เป็นดังตันแบบแห่งปราสาทหลายแห่งในเมืองเสียมเรียบ ปราสาทตาเมือน ที่มีทั้งอโรคยศาลาและธรรมศาลาครบครัน อยู่ใกล้ๆ ปราสาทหินพนมวัน ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงน้อย และปราสาทศรีขรภูมิ เป็นต้น7. สุดยอดพระบรมธาตุงวดงามดังนิรมิต

          ไม่ว่าขอมจะเป็นเขมรหรือไม่ แต่ศาสนสถานของขอมก็สร้างขึ้นด้วยหิน ส่วนไทยและลาวเราสร้างวัดและเจดีย์ด้วยอิฐและปูน ดังนั้น ในอีสานนอกจากจะมีโบราณสถานกลุ่มปราสาทหิน อันแสดงให้เห็นถึงอารยธรรมขอมที่แผ่กว้างไปทั่วแล้ว อีสานก็ยังมีอารยธรรมไทยลาวที่แผ่ขยายออกไปจนเต็มที่เช่นเดียวกัน วัดและส่วนประกอบสำคัญของวัด คือเจดีย์ ที่ถูกเรียกเป็นภาษาอีสานว่าธาตุ มีมากมายหลายแห่งในอีสานโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองเก่าแก่มาแต่โบราณกาล

          พระธาตุสำคัญของอีสานอันเป็นที่รู้จัก ได้แก่ พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม พระธาตุก่องข้าวน้อย จังหวัดยโสธร พระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย และพระธาตุยาคู จังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น

          
ในจำนวนพระธาตุทั้งหลายแห่งนี้ ที่ถึงพร้อมด้วยความสวยงามของศิลปะอีสาน มีความใหญ่โตมโหฬารทรงคุณค่า อีกทั้งมีความสำคัยยิ่งทางจิตวิญญาณแล้ว ก็คงไม่มีธาตุแห่งไหนเกินองค์พระธาตุพนม ซึ่งไม่เพียงแต่พระธาตุพนมจะได้รับการเคารพนบนอบโดยคนไทยอีสานเราฝั่งนี้เท่านั้น แม้ในคราวงานนมัสการพระธาตุในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ชาวลาวจากอีกฟากฝั่งโขงก็ยังต่างพากันข้ามประเทศมาร่วมงานนมัสการองค์พระธาตุพนมนี้กันอย่างครึกครื้น 8. สุดยอดชาวเผ่าอีสาน สีสันของผู้คนและวัฒนธรรมประเพณี

          คนอีสานนอกจากจะมีชาวอีสานลาว ซึ่งเป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ที่สุด เป็นเจ้าของวัฒนธรรมประเพณีซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคแล้ว อีสานก็ยังมีกลุ่มชนต่างๆ อีกหลากหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น กลุ่มชาวผู้ไทยหรือไทยดำ กลุ่มชาวอีสานเขมร กลุ่มชาวส่วย กลุ่มชาวมอญเขมรโบราณ เช่น ชาวบนหรือญักุร ชาวข่าหรือขมุ กลุ่มชาวไทยย้อ กลุ่มชาวไทยกระโส้ ตลอดจนกลุ่มชาวไทยโคราช เป็นต้น

          กลุ่มชาวไทยต่างๆ เหล่านี้แหละ ที่เป็นสีสันและเป็นเจ้าของกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีในแง่มุมต่าง ๆ  ทั้งงานศิลปหัตถกรรม อาหาร ภาษา บทเพลง บทกวีต่างๆ อีกมากมายหลากหลาย ในแต่ละชาวเผ่าต่างก็มีรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเองโดยเฉพาะ และใช้รูปแบบกลางๆ ที่เป็นของภูมิภาคอีสานร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ในแทบทุกชนเผ่าในภาคอีสานต่างก็มีประเพณีบายศรีสู่ขวัญเป็นประเพณีร่วมกัน แต่รายละเอียดในพิธีกรรมจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนเผ่า ตัวอย่างเช่น การต้อนรับแขกเหรื่อด้วยการดวลเหล้าจากไห ชาวลาวทั่วไปจะใช้คำเรียกว่าดูดอุ แต่ชาวผู้ไทยจะเรียกว่าชนช้าง เป็นต้น และอีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ บทเพลงหรือบทกวีของชาวผู้ไทยที่มีแนวทางฉันทลักษณ์และทำนองเป็นของตนเอง แต่ภาษาที่ใช้ในเพลงก็อาจจะใช้ภาษาที่ไม่เฉพาะเจาะจง อาจจะเป็นภาษาผู้ไทยหรือไทยอีสานรวมๆ กันไปก็ได้

          และชาวเผ่าที่เรา อ.ส.ท. ขอยกย่องให้เป็นสุดยอดของอีสาน นอกจากชาวไทยลาวที่มีจำนวนมากที่สุด มีทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมประเพณีอีสานแล้ว ชาวผู้ไทยและชาวไทยเขมรต่างก็มีบทบาทและมีวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตที่เป็นตัวของตัวเอง เป็นสีสันที่ช่วยกันทำให้อีสานเป็นแผ่นดินแห่งความเจิดจ้าและร่ำรวยด้วยทรัพยากรแห่งศิลปวัฒนธรรมโดดเด่นมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

          ท้ายที่สุดของสุดท้ายแห่งอีสานคลาสสิก และ 8 สุดยอดที่ราบสูงอีสานนี้ เรา อ.ส.ท. ขอสงวนสิทธิ์ว่าเรื่องราวที่กล่าวถึงมาทั้งหมดนี้ มิใช่การลงคะแนนเสียงจากผู้อ่านเหมือนกับที่นิตยสาร Travel+Leisure ลงคะแนนให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ดีที่สุดในการเดินทางมาท่องเที่ยว หรือมิได้เป็นความเห็นของผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์และโบราณคดีใดๆ แต่ทั้งหมดที่กล่าวถึงนี้ เป็นเพียงประสบการณ์จากการเดินทางท่องเที่ยวหลายครังหลายหนนานนับได้หลายสิบปีของชาว อ.ส.อ. เราทั้งนั้น

ภาคใต้



 วนอุทยานอ่าวมะนาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลกะลุวอเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข 4084 (นราธิวาส-ตากใบ) ประมาณ 3 กิโลเมตร และมีทางแยกไปสู่หาดอีก 3 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่ยาวต่อเนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจังหวัดปัตตานี เป็นโค้งอ่าวเชื่อมต่อกัน ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร มีโขดหินคั่นสลับโค้งหาดเป็นระยะ ด้านหนึ่งติดพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ บริเวณริมหาดมีสวนรุกขชาติ และทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายหาด (beach forest) ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่พบจะเป็นไม้ที่ชอบความแห้งแล้ง เช่น จักทะเล มะนาวผี เตยทะเล (ผลมีหน้าตาคล้ายสับปะรด) เป็นต้น หากใครอยากพักค้างคืนมีบ้านพักของเอกชนในบริเวณใกล้เคียงให้บริการ
 ข้อมูลทั่วไป    
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมราษฎรในบริเวณพื้นที่บ้านบางมะนาว หมู่ที่ 1 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ทรงมีพระราชดำริให้มีการปรับปรุงด้านต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งต่อมาสำนักงานป่าไม้เขตปัตตานีได้สนองพระราชดำริดังกล่าว โดยทำการสำรวจพื้นที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติพิเศษป่าเขาตันหยง ในพื้นที่นอกเขตพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อจัดตั้งเป็นวนอุทยาน มีเนื้อที่ประมาณ 720 ไร่ และตั้งชื่อว่า “วนอุทยานอ่าวมะนาว” โดยกรมป่าไม้ได้ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2536

ต่อมาอธิบดีกรมป่าไม้ (ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี) ได้ไปตรวจราชการที่จังหวัดนราธิวาส ได้ให้นโยบายเกี่ยวกับวนอุทยานอ่าวมะนาวว่า ควรดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานอ่าวมะนาวให้เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล เพราะมีพื้นที่โดยรวมประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีหาดทรายขาวสลับด้วยโขดหินที่สวยงามตา ประกอบกับวนอุทยานอ่าวมะนาวมีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกับพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ซึ่งทุกๆ ปี ประมาณช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม จะมีการเสด็จแปรพระราชฐานเพื่อทรางานตามพระราชดำริในท้องที่ภาคใต้ จำเป็นต้องมีสถานที่เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกรมป่าไม้ เพื่อถวายรายงานเกี่ยวกับกิจการด้านการป่าไม้ด้วย

ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเลได้สนองนโยบายตามที่อธิบดีมอบหมายดังกล่าว โดยสั่งเจ้าหน้าที่ออกมาทำการสำรวจพื้นที่บริเวณอ่าวมะนาวและบริเวณใกล้เคียง ในพื้นที่อำเภอบาเจาะ อำเภอเมือง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เพื่อกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ จากผลการสำรวจพบว่าบริเวณพื้นที่อ่าวมะนาวและบริเวณใกล้เคียงมีสภาพธรรมชาติที่สมบูรณ์ เหมาะสมในการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล

ต่อมากรมป่าไม้ได้มีหนังสือแจ้งให้สำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี ส่งมอบวนอุทยานอ่าวมะนาว แก่ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเลดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อเตรียมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป และอธิบดีกรมป่าไม้ (ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี) ได้ตั้งชื่อให้ใหม่เพื่อเป็นเกียรติว่า “อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว – เขาตันหยง”
 พืชพรรณและสัตว์ป่า    
ทรัพยากรธรรมชาติ
เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว – เขาตันหยง ประกอบด้วยพื้นที่ 3 ส่วน คือ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นหาดทรายติดกับชายทะเลและเนินเขาสูง บริเวณป่าสงวน 20% ของนิคมสหกรณ์บาเจาะ ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นป่าพรุมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนและแห้งแล้ง ในช่วงฤดูแล้งและบริเวณป่าพรุใกล้คลองปิเหล็ง สภาพพื้นที่ก็เป็นป่าพรุแต่มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี

จากลักษณะดังกล่าว ทำให้พืชพรรณธรรมชาติและสัตว์ป่าของทั้ง 3 แห่ง มีความแตกต่างกัน ซึ่งพอจำแนกได้ดังนี้ คือ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่บริเวณชายหาดถึงที่ลาดชันเล็กน้อยจะพบพันธุ์ไม้ประเภทป่าชายหาด ซึ่งลักษณะเป็นป่าโปร่ง ลำต้นคดงอ เนื่องจากแรงลมหรือบริเวณที่ขึ้นอยู่ เช่น ขึ้นแทรกระหว่างก้อนหินพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ รักทะเล ยอป่า พะวา หูกวาง เลือดม้า มะนาวผี กระเบาลิง จิก พลับพลา มะพลับ มะกอก พลอง สารภีทะเล หยีน้ำ ชะเมา ตีนเป็ดทะเล ปอทะเล ฯลฯ ส่วนบริเวณที่สูงขึ้นไปจะพบพันธุ์ไม้ประเภทป่าดิบแล้ง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ แอ๊ก ทังใบใหญ่ กันเกรา เตยทะเล ไทร มะคะ ตีนนก กระทุ่มบก เป็นต้น สำหรับพันธุ์ไม้ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาตินี้ ดร.เชาวลิตร นิยมธรรม ได้สำรวจพบ ต้นมะนาวผี (Atalantia monophylla) ที่มีขนาดใหญ่และสวยงามมากเท่าที่เคยพบเห็นมา


โดยที่อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว – เขาตันหยง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนพิเศษป่าเขาตันหยง มีสภาพธรรมชาติทีอุดมสมบูรณ์ และอุทยานแห่งชาติมีอาณาเขตติดต่อกับแนวเขตพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ สัตว์ป่าที่อาศัยในบริเวณนี้จะเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างเขตอุทยานแห่งชาติกับเขตพระราชฐานเพื่อหาอาหารและน้ำ สัตว์ที่สำรวจพบได้แก่ กระรอก กระแต พญากระรอก ชะมด ลิ่น เม่น ลิง ค่าง อีเก้ง งูเหลือม งูเห่า งูกะปะ ไก่ป่า เหยี่ยวแดง นกขมิ้น นอกจากนี้จะพบเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทสัตว์กีบ เช่น กวางป่า เก้ง กระจง ซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงปล่อยไว้เพื่อสร้างระบบนิเวศในพิ้นที่ป่าสงวนแห่งชาติพิเศษป่าเขาตันหยง เป็นจำนวนมากอีกด้วย

บริเวณพื้นที่ป่าสงวน 20% ของนิคมสหกรณ์บาเจาะ มีสภาพเป็นป่าพรุมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนและแล้งในช่วงฤดูแล้งพันธุ์ไม้ที่พบเห็นบริเวณนี้ จำแนกได้ 2 ส่วน คือ

1. บริเวณที่เป็นป่าพรุค่อนข้างสมบูรณ์ มีไม้ขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุมหนาแน่น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ กระบุย ตีนเป็ดพรุ ช้างไห้ กระดุมผี อ้ายบ่าว กะทัง ทองบึ้ง หว้า เสม็ดแดง ชะเมา สาคู หลาวชะโอน สะเตียว หมากเขียว หมากแดง

2. บริเวณที่เป็นป่าเสม็ดซึ่งมีไม้เสม็ดขาวชนิดเดียวเป็นพื้นที่ผืนใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 80% ของเนื้อที่ทั้งหมด เท่าที่พบเห็นและสอบถามชาวบ้านในท้องที่ พบว่าเป็นแหล่งทีอยู่ของสัตว์ป่าหลายชนิด ได้แก่ หมูป่า ชะมด ลิงกัง เสือปลา กระรอก กระแต อีเห็น เต่า ตะพาบน้ำ ตะกวด กบ เขียด ปลาดุก ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาลำพัน นกเอี้ยง นกขุนทอง นกกระปูด นกกางเขนดง นกกางเขนบ้าน งูเห่า งูจงอาง งูเขียว เป็นต้น

บริเวณป่าพรุใกล้คลองปิเหล็ง มีสภาพเป็นป่าพรุที่มีน้ำท่วมขังเกือบตลอดปี เป็นป่าพรุที่มีความหนาแน่นพอสมควร พันธุ์ไม้ส่วนสำคัญได้แก่ ไม้เสม็ดขาว และจากการสอบถามชาวบ้านท้องที่ สัตว์ที่พบได้แก่ เต่า ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาลำพัน ลิง ลิ่น นาก ตะกวด อีเห็น เป็นต้น

ภาคกลาง



อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย ที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุขเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อนุสาวรีย์นี้ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ศิลปพีระศรี เร ิ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ตรงกลางเป็นพานประดิษฐานรัฐธรรมนูญ ซึ่งนับเป็นพานทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทยสูง 3 เมตร หนัก 4 ตันอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายนพ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล อันเป็นแบบที่ชนะการประกวดการออกแบบอนุสาวรีย์แห่งนี้ การออกแบบได้นำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสาน ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า นอกจากการเป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงประชาธิปไตยนั้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ ยังเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ใช้เป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง อาทิ การชุมนุมของประชาชนและนักศึกษาใน เหตุการณ์ 14 ตุลา, การชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เป็นต้น

ภาคเหนือ



วัดร่องขุ่น 
ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน ์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่น รังสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตาผสานวัฒนะธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนังขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของวัดคือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง


วัดร่องขุ่น เป็นวัดพุทธและวัดฮินดู ที่จังหวัดเชียงราย ออกแบบและก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉลิมชัยคาดว่างานก่อสร้างวัดร่องขุ่นจะไม่เสร็จลงภายในช่วงชีวิตของเขา[1] วัดร่องขุ่นได้ต้นแบบการสร้างมาจาก วัดมิ่งเมือง ใน จังหวัดน่าน[2]

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ประวัติ

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ
  1. ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
  2. ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
  3. พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระองค์ท่านหลายครั้ง ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน
วัดร่องขุ่นแห่งนี้เป็นวัดพุทธ ซึ่งสังกัดอยู่ในฝ่ายมหานิกาย ไม่ใช่วัดฮินดูเหมือนดังที่จั่วหัวไว้ในวรรคแรก ซึ่งนั่นการนำเอาวัฒนธรรมแวดล้อมของตัวเองเข้ามาผสมผสานหรือถูกอิทธิของศาสนาอื่นเข้ามาแทรกแซงบ้าง ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ตามพระบัญญัติแห่งคณะสงฆ์ไทยแล้ว วัดร่องขุ่น เป็น "วัดพุทธ" ไม่ใช่ "มหายาน"

[แก้]ความหมายของอุโบสถ

White Temple in Thailand.jpeg
  • สีขาว : พระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า
  • สะพาน : การเดินข้ามจากวัฎสงสารสู่พุทธภูมิ
  • เขี้ยว หรือ ปากพญามาร : กิเลสในใจ
  • สันของสะพาน : มีอสูรอมกัน ข้างละ 8 ตัว 2 ข้าง รวมกันแทนอุปกิเลส 16
  • กึ่งกลางของสะพาน : เขาพระสุเมรุ
  • ดอกบัวทิพย์ : มี 4 ดอกใหญ่ตรงทางขึ้นด้านข้างอุโบสถแทนซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
  • บันไดทางขึ้น : มี 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

[แก้]เกร็ดในการก่อสร้าง

  • ในระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมาใช้เงินในการก่อสร้างมากกว่า 400 ล้านบาท
  • คาดว่าจะสร้างอุโบสถ 9 หลังจนเสร็จสมบูรณ์ด้วยเวลาทั้งสิ้น 60 - 70 ปี